ยินดีต้อนรับเข้าสู่เว็บไซต์ใหม่ของเทศบาลตำบลบ้านหลวง                               วิสัยทัศน์การพัฒนา (Vision) "กินอิ่ม นอนอุ่น ชุมฉ่ำน้ำท่า ท่องเที่ยวพัฒนา ผืนป่าเขียวขจี เศรษฐกิจดีแบบพอเพียง"
 ข้อมูลเทศบาล

นายก่อชิ เพชรไพรพนาวัลย์

นายกเทศมนตรีตำบลบ้านหลวง
โทร. 096-6535535

msgถาม-ตอบ สายตรงนายก

นายอภิสิทธิ์ ยลละออ - ปลัดเทศบาลตำบลบ้านหลวง <br> โทร. 095-6986957

นายอภิสิทธิ์ ยลละออ

ปลัดเทศบาลตำบลบ้านหลวง
โทร. 095-6986957


informationประวัติและข้อมูลทั่วไป

ประวัติและข้อมูลทั่วไป

ความเป็นมา

การเปลี่ยนระบบการปกครองจากประเทศราชเป็นแบบมณฑลเทศาภิบาล ทำให้นครเชียงใหม่ ซึ่งมีฐานะเป็นเมืองประเทศราช ถูกลดบทบาทลงมาเป็นหัวเมืองหนึ่งในมณฑลพายัพ พ.ศ. ๒๔๔๓ ทางราชการได้ตั้งชุมชนที่อยู่โดยรอบวัดพระธาตุศรีจอมทอง ให้เป็นเมืองหนึ่ง โดยใช้ชื่อ "แขวงจอมทอง" และให้ใช้ชื่อเรียกตามตำนานวัดพระศรีจอมทอง(ปัจจุบันยกระดับเป็น วัดพระธาตุศรีจอมทองวรวิหาร) แขวงจอมทอง มีพื้นที่ปกครอง ๔ แคว้น คือ แคว้นบ้านหลวง แคว้นสองแคว แคว้นเตี๊ยะ แคว้นบ้านแปะ ต่อมากระทรวงมหาดไทย  ได้ประกาศยกฐานะสภาตำบลบ้านหลวงเป็นองค์การบริหารส่วนตำบลบ้านหลวง  และได้ประกาศในราชกิจจานุเบกษา  เล่มที่  ๑๑๓  ตอนพิเศษ  ๕๒ ง  ประกาศ ๒๕  ธันวาคม  ๒๕๓๙  โดยให้มีผลบังคับตั้งแต่วันที่  ๒๓  กุมภาพันธ์  ๒๕๔๐  เป็นต้นไป ต่อมาได้ยกฐานะเป็นเทศบาลตำบลบ้านหลวง ตามประกาศกระทรวงมหาดไทย ประกาศ ณ วันที่ ๒๗ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๕๒  และได้ประกาศในราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๘ ตอนพิเศษ ๑๗ง ประกาศ ๑๑ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๔ และต่อมาได้มีการเปลี่ยนแปลงเขตโดยแยกพื้นที่ หมู่ที่ ๑ - หมู่ที่ ๔ ของตำบลบ้านหลวงไปรวมกับเทศบาลตำบลจอมทอง ตามที่ได้ประกาศในราชกิจจานุเบกษาเล่ม ๑๒๘ ตอนพิเศษ ง ประกาศ ๑๖ ธันวาคม ๒๕๕๔ โดยอาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๔๒ แห่งพระราชบัญญัติสภาตำบลและองค์การบริหารส่วนตำบล พ.ศ. ๒๕๓๗ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติม โดยพระราชบัญญัติสภาตำบลและองค์การบริหารส่วนตำบล(ฉบับที่ ๕) พ.ศ. ๒๕๔๖ และมาตรา ๗ แห่งพระราชบัญญัติเทศบาล พ.ศ. ๒๔๙๖


ตราสัญลักษณ์เทศบาล

ความหมาย
ดวงตราเทศบาลตำบลบ้านหลวงเป็นรูปวงกลมล้อมรอบภายในเป็นภาพพระมหาธาตุนภเมทนีดล และพระมหาธาตุนภพลภูมิสิริซึ่งประดิษฐานอยู่บนยอดดอยที่สูงที่สุดในประเทศไทย เสมือนการได้ปฏิบัติงานภายใต้พระราชดำรัสและรอยพระยุคคลบาทของพระบาทสมเด็จสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระบรมราชินีนาถ

เป้าประสงค์
1. สร้างเสริม ปรับปรุงโครงสร้างพื้นฐาน และบริการสาธารณะให้ทั่วถึงทุกหมู่บ้าน
2. ให้ประชากรได้รับโอกาสทางการศึกษา  การรับบริการสาธารณะ   การรับรู้ข่าวสาร
อย่างทั่วถึง และเท่าทันทุก ๆ หมู่บ้าน
3. ส่งเสริมการอนุรักษ์ศิลปวัฒนธรรม จารีตประเพณีและภูมิปัญญาท้องถิ่น
4. ส่งเสริมสนับสนุนการให้บริการด้านสุขอนามัยแก่ประชาชน
5. เพื่อให้ประชากรที่อาศัยอยู่ในหมู่บ้าน มีคุณภาพชีวิตที่ดี เป็นหมู่บ้านที่น่าอยู่ น่าอาศัย
ภายใต้สิ่งแวดล้อมที่ดี ไม่มีมลพิษ
6. แหล่งท่องเที่ยวได้รับการพัฒนาและมีรายได้จากการท่องเที่ยวเพิ่มขึ้น
7. ให้ประชากรได้รับการจัดสรรน้ำ ซึ่งเป็นต้นทุนปัจจัยการผลิตขั้นพื้นฐานของภาคการเกษตรอย่างเพียงพอและทั่วถึง
8. เพื่อเพิ่มรายได้ให้แก่ทุกครัวเรือน ตลอดจนเสริมสร้างให้ชุมชนสามารถพึ่งตนเองได้
9. อนุรักษ์ฟื้นฟูทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
10. ส่งเสริมการฝังกลบอย่างถูกสุขาภิบาล และส่งเสริมการแปรรูปขยะเป็นพลังไฟฟ้า
ตลอดทั้งการคัดแยกขยะครัวเรือนตามหลัก 3Rs
11. เพื่อให้ระบบการบริหารมีความโปร่งใส ยุติธรรม  โดยคำนึงถึงการมีส่วนร่วมของประชาชน
12. พัฒนาปรับปรุงสถานที่ปฏิบัติงาน  จัดหาวัสดุครุภัณฑ์  เพื่อใช้ในการบริหารจัดการทั่วไป
13. การพัฒนาประสิทธิภาพแก่บุคลากรในองค์กร

ยุทธศาสตร์การพัฒนา
1. ยุทธศาสตร์การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน
2. ยุทธศาสตร์การพัฒนาคนและสังคม
3. ยุทธศาสตร์การพัฒนาการท่องเที่ยว
4. ยุทธศาสตร์ด้านการพัฒนาแหล่งน้ำ
5 ยุทธศาสตร์ด้านการพัฒนาเศรษฐกิจ
6. ยุทธศาสตร์ด้านการพัฒนา อนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อม
7. ยุทธศาสตร์ด้านการพัฒนาการเมืองและการบริหาร

จุดมุ่งหมาย (Purpose)
1. สร้างเสริม ปรับปรุงโครงสร้างพื้นฐาน และบริการสาธารณะให้ทั่วถึงทุกหมู่บ้าน
2. ให้ประชากรได้รับโอกาสทางการศึกษา  การรับบริการสาธารณะ   การรับรู้ข่าวสาร
อย่างทั่วถึง และเท่าทันทุก ๆ หมู่บ้าน
3. ส่งเสริมการอนุรักษ์ศิลปวัฒนธรรม จารีตประเพณีและภูมิปัญญาท้องถิ่น
4. ส่งเสริมสนับสนุนการให้บริการด้านสุขอนามัยแก่ประชาชน
5. เพื่อให้ประชากรที่อาศัยอยู่ในหมู่บ้าน มีคุณภาพชีวิตที่ดี เป็นหมู่บ้านที่น่าอยู่ น่าอาศัย
ภายใต้สิ่งแวดล้อมที่ดี ไม่มีมลพิษ
6. แหล่งท่องเที่ยวได้รับการพัฒนาและมีรายได้จากการท่องเที่ยวเพิ่มขึ้น
7. ให้ประชากรได้รับการจัดสรรน้ำ ซึ่งเป็นต้นทุนปัจจัยการผลิตขั้นพื้นฐานของภาคการเกษตรอย่างเพียงพอและทั่วถึง
8. เพื่อเพิ่มรายได้ให้แก่ทุกครัวเรือน ตลอดจนเสริมสร้างให้ชุมชนสามารถพึ่งตนเองได้
9. อนุรักษ์ฟื้นฟูทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
10. ส่งเสริมการฝังกลบอย่างถูกสุขาภิบาล และส่งเสริมการแปรรูปขยะเป็นพลังไฟฟ้า
ตลอดทั้งการคัดแยกขยะครัวเรือนตามหลัก 3Rs
11. เพื่อให้ระบบการบริหารมีความโปร่งใส ยุติธรรม  โดยคำนึงถึงการมีส่วนร่วมของประชาชน
12. พัฒนาปรับปรุงสถานที่ปฏิบัติงาน  จัดหาวัสดุครุภัณฑ์  เพื่อใช้ในการบริหารจัดการทั่วไป
13. การพัฒนาประสิทธิภาพแก่บุคลากรในองค์กร


สภาพทั่วไป

ที่ตั้ง
เทศบาลตำบลบ้านหลวง ตั้งอยู่ที่เลขที่ 1 หมู่ที่ 20 ตำบลบ้านหลวง อำเภอจอมทอง จังหวัดเชียงใหม่ อยู่ห่างจากที่ว่าการอำเภอจอมทองประมาณ 10 กิโลเมตร และอยู่ห่างจากจังหวัดเชียงใหม่  ประมาณ 65 กิโลเมตร เนื้อที่โดยประมาณ 364 ตารางกิโลเมตร คิดเป็น ร้อยละ36.4 ของเนื้อที่ทั้งอำเภอ (อำเภอจอมทองมีเนื้อที่ 1,055.2 ตารางกิโลเมตร )

อาณาเขต

กำหนดเขตเทศบาลตำบลบ้านหลวง ไว้ดังนี้

หลักเขตที่ ๑ ตั้งอยู่ตรงดอยอินทนนท์ ซึ่งเป็นจุดบรรจบเส้นแบ่งเขตระหว่างตำบลแม่วิน อำเภอ

แม่วาง ตำบลช่างเคิ่ง อำเภอแม่แจ่ม และตำบลบ้านหลวง อำเภอจอมทอง บริเวณพิกัด MA ๔๖๒๕๕๕

ด้านเหนือ

จากหลักเขตที่ ๑ เป็นเส้นเลียบตามแนวสันเขา ซึ่งเป็นเส้นแบ่งเขตระหว่างตำบลแม่วิน อำเภอ

แม่วาง กับตำบลบ้านหลวง อำเภอจอมทอง โดยไปทางทิศตะวันออก ตามแนวสันเขาขุนห้วยแห้ง ถึงหลักเขต

ที่ ๒ ซึ่งตั้งอยู่ตรงสันดอยขุนป๋วย บริเวณพิกัด MA ๖๐๗๕๖๕ ระยะทางประมาณ ๑๖,๙๔๐ เมตร

จากหลักเขตที่ ๒ เป็นเส้นเลียบตามแนวสันเขา ซึ่งเป็นเส้นแบ่งเขตระหว่างตำบลสันติสุข อำเภอ

ดอยหล่อ กับตำบลบ้านหลวง อำเภอจอมทอง โดยไปทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ ตามแนวสันเขาดอยขุนป๋วย

ถึงหลักเขตที่ ๓ ซึ่งตั้งอยู่ตรงจุดตัดแนวกึ่งกลางลำน้ำแม่ตื่น บริเวณพิกัด MA ๖๗๖๔๙๒ ระยะทางประมาณ

๑๑,๘๕๙ เมตร รวมระยะทางด้านทิศเหนือประมาณ ๒๘,๗๙๙ เมตร

ด้านตะวันออก

จากหลักเขตที่ ๓ เป็นเส้นเลียบตามแบ่งเขตระหว่างตำบลสันติสุข ตำบลดอยหล่อ อำเภอ

ดอยหล่อ จังหวัดเชียงใหม่ ไปทางทิศใต้เป็นเส้นเลียบตามแนวกึ่งกลางลำน้ำแม่ตื่น ถึงหลักเขตที่ ๔ ซึ่งตั้งอยู่

ตรงจุดตัดแนวกึ่งกลางลำน้ำแม่หอย บริเวณพิกัด MA ๖๗๑๔๘๑ ระยะทางประมาณ ๑,๓๕๗ เมตร

จากหลักเขตที่ ๔ เป็นเส้นเลียบไปทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ เป็นเส้นเลียบตามแนวสันเขา

ดอยถ้ำบริจินดา ถึงหลักเขตที่ ๕ ซึ่งตั้งอยู่ตรงจุดตัดแนวกึ่งกลางลำห้วยโป่งช้าง บริเวณพิกัด MA ๖๙๑๔๖๙

ระยะทางประมาณ ๒,๔๐๖ เมตร

จากหลักเขตที่ ๕ เป็นเส้นเลียบไปทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ เป็นเส้นเลียบตามแนวสันเขา

ห้วยโป่งช้างถึงหลักเขตที่ ๖ ซึ่งตั้งอยู่ตรงจุดตัดแนวกึ่งกลางลำห้วยผักชี บริเวณพิกัด MA ๗๐๔๔๖๓ ระยะทาง

ประมาณ ๑,๒๔๕ เมตร

จากหลักเขตที่ ๖ เป็นเส้นเลียบไปทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ถึงหลักเขตที่ ๗ ซึ่งตั้งอยู่ตรงจุดตัด

แนวกึ่งกลางถนนสามแยก บริเวณพิกัด MA ๗๐๙๔๖๙ ระยะทางประมาณ ๘๔๔ เมตร

จากหลักเขตที่ ๗ เป็นเส้นเลียบไปทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ เป็นเส้นเลียบตามแนวกึ่งกลางถนน

ถึงหลักเขตที่ ๘ ซึ่งตั้งอยู่ตรงจุดตัดแนวกึ่งกลางลำห้วยทราย บริเวณพิกัด MA ๗๑๖๔๕๒ ระยะทางประมาณ

,๐๕๔ เมตร

จากหลักเขตที่ ๘ เป็นเส้นเลียบตามแบ่งเขตระหว่างตำบลข่วงเปา กับตำบลบ้านหลวง ไปทาง

ทิศตะวันตกเฉียงใต้ ถึงหลักเขตที่ ๙ ซึ่งตั้งอยู่ตรงจุดตัดแนวกึ่งกลางลำห้วยหลุ บริเวณพิกัด MA ๗๐๓๔๔๓

ระยะทางประมาณ ๑,๕๑๓ เมตร

จากหลักเขตที่ ๙ เป็นเส้นเลียบไปทางทิศตะวันตกเฉียงใต้ เป็นเส้นเลียบตามแนวกึ่งกลางห้วยหลุ

ถึงหลักเขตที่ ๑๐ ซึ่งตั้งอยู่ตรงจุดตัดแนวกึ่งกลางห้วยอีราง บริเวณพิกัด MA ๖๘๑๔๒๓ ระยะทางประมาณ

,๖๘๐ เมตร

จากหลักเขตที่ ๑๐ เป็นเส้นเลียบไปทางทิศตะวันตก เป็นเส้นเลียบตามแนวกึ่งกลางลำห้วยอีราง

ถึงหลักเขตที่ ๑๑ ซึ่งตั้งอยู่ตรงจุดตัดแนวกึ่งกลางถนนไปบ้านห้วยกราว บริเวณพิกัด MA ๖๖๙๔๒๕ ระยะทาง

ประมาณ ๑,๑๕๔ เมตร

จากหลักเขตที่ ๑๑ เป็นเส้นเลียบไปทางทิศตะวันตกเฉียงใต้ ถึงหลักเขตที่ ๑๒ ซึ่งตั้งอยู่ตรง

จุดกึ่งกลางทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๑๐๐๙ บริเวณพิกัด MA ๖๖๓๔๒๓ ระยะทางประมาณ ๖๗๓ เมตร

จากหลักเขตที่ ๑๒ เป็นเส้นเลียบไปทางทิศตะวันตกเฉียงใต้ตามแนวเส้นตรง ถึงหลักเขตที่ ๑๓

ซึ่งตั้งอยู่ตรงจุดกึ่งกลางลำน้ำแม่กลาง บริเวณพิกัด MA ๖๔๓๔๑๘ ระยะทางประมาณ ๑,๙๒๔ เมตร

จากหลักเขตที่ ๑๓ เป็นเส้นเลียบไปทางทิศใต้ เป็นเส้นเลียบตามแนวกึ่งกลางลำน้ำแม่กลาง ถึงหลัก

เขตที่ ๑๔ ซึ่งตั้งอยู่ตรงจุดกึ่งกลางลำน้ำแม่กลาง บริเวณพิกัด MA ๖๕๕๓๗๕ ระยะทางประมาณ ๕,๗๖๑ เมตร

จากหลักเขตที่ ๑๔ เป็นเส้นเลียบไปทางทิศใต้ เป็นเส้นเลียบตามแนวกึ่งกลางลำน้ำแม่กลาง

ถึงหลักเขตที่ ๑๕ ซึ่งตั้งอยู่ตรงจุดลำห้วยไส้ไก่บรรจบกับลำน้ำแม่กลาง บริเวณพิกัด MA ๖๕๔๓๗๔ ระยะทาง

ประมาณ ๑๐๕ เมตร รวมระยะทางด้านทิศตะวันออกประมาณ ๒๒,๗๑๖ เมตร

ด้านใต้

จากหลักเขตที่ ๑๕ เป็นเส้นเลียบไปตามขอบลำเหมืองไส้ไก่ด้านทิศเหนือ ซึ่งเป็นเส้นแบ่งเขต

ระหว่างเทศบาลตำบลจอมทอง อำเภอจอมทอง กับเทศบาลตำบลบ้านหลวง เริ่มต้นตรงบริเวณจุดลำเหมืองไส้ไก่

บรรจบกับลำน้ำแม่กลาง ไปทางทิศตะวันตก ถึงหลักเขตที่ ๑๖ซึ่งตั้งอยู่ตรงหลักเขตที่ดินเอกชนโฉนดเลขที่

๓๒๑๒๑ บริเวณพิกัด MA ๖๕๒๓๗๔ ระยะทางประมาณ ๑๕๓ เมตร

จากหลักเขตที่ ๑๖ เป็นเส้นเลียบไปทางทิศใต้ เป็นเส้นเลียบตามแนวเขตที่ดินด้านทิศตะวันออก

ของที่ดินเอกชนโฉนดเลขที่ ๓๒๑๒๑ ถึงหลักเขตที่ ๑๗ ซึ่งตั้งอยู่ตรงจุดสิ้นสุดเขตที่ดินเอกชนโฉนดเลขที่

๓๒๑๒๑ บริเวณพิกัด MA ๖๕๒๓๗๓ ระยะทางประมาณ ๒๙ เมตร

จากหลักเขตที่ ๑๗ เป็นเส้นเลียบไปทางทิศตะวันตก เป็นเส้นเลียบตามแนวเขตที่ดินด้านทิศใต้

ของที่ดินเอกชนโฉนดเลขที่ ๓๒๑๒๑ ถึงหลักเขตที่ ๑๘ ซึ่งตั้งอยู่ตรงจุดกึ่งกลางถนน คสล.สายทุ่งแคบ บริเวณ

พิกัดที่ MA ๖๕๑๓๗๔ ระยะทางประมาณ ๑๒๓ เมตร

จากหลักเขตที่ ๑๘ เป็นเส้นเลียบไปทางทิศตะวันตก เป็นเส้นเลียบตามแนวกึ่งกลางลำเหมือง

ไส้ไก่ ซึ่งเป็นลำเหมืองสาขาของลำเหมืองห้วยกัง ถึงหลักเขตที่ ๑๙ ซึ่งตรงอยู่ตรงจุดกึ่งกลางถนนสายห้วยกัง

บริเวณพิกัดที่ MA ๖๔๘๓๗๓ ระยะทางประมาณ ๓๐๖ เมตร

จากหลักเขตที่ ๑๙ เป็นเส้นเลียบไปทางทิศตะวันตก เป็นเส้นเลียบตามแนวกึ่งกลางลำเหมือง

ไส้ไก่ ซึ่งเป็นลำเหมืองสาขาของลำเหมืองห้วยกัง ถึงหลักเขตที่ ๒๐ ซึ่งตั้งอยู่ตรงจุดกึ่งกลางบริเวณลำเหมืองไส้ไก่

แยกจากลำเหมืองห้วยกัง บริเวณพิกัดที่ MA ๖๔๗๓๗๓ ระยะทางประมาณ ๑๐๒ เมตร

จากหลักเขตที่ ๒๐ เป็นเส้นเลียบไปทางทิศตะวันตก เป็นเส้นเลียบตามแนวกึ่งกลางลำเหมือง

ห้วยกัง ถึงหลักเขตที่ ๒๑ ซึ่งตั้งอยู่ตรงจุดกึ่งกลางถนนห้วยกังตัดกับลำ เหมืองห้วยกัง บริเวณพิกัดที่

MA ๖๔๕๓๗๑ ระยะทางประมาณ ๓๒๕ เมตร

จากหลักเขตที่ ๒๑ เป็นเส้นเลียบไปทางทิศตะวันตก เป็นเส้นเลียบตามแนวขอบถนนด้านทิศ

เหนือ ของถนนห้วยกัง ถึงหลักเขตที่ ๒๒ ซึ่งตั้งอยู่ตรงจุดตัดระหว่างถนนกั้งกับถนนห้วยผาเงิบ บริเวณพิกัดที่

MA ๖๔๐๓๗๒ ระยะทางประมาณ ๔๒๓ เมตร

จากหลักเขตที่ ๒๒ เป็นเส้นเลียบไปทางทิศเหนือ เป็นเส้นเลียบตามแนวกึ่งกลางถนนสายข้าง

ป่าช้า ถึงหลักเขตที่ ๒๓ ซึ่งตั้งอยู่ตรงสามแยกถนนแม่กลาง(เด่นแงะ) บริเวณพิกัดที่ ๖๔๐๓๗๓ ระยะทาง

ประมาณ ๕๓ เมตร

จากหลักเขตที่ ๒๓ เป็นเส้นเลียบไปทางทิศตะวันตก เป็นเส้นเลียบตามแนวกึ่งกลางถนนสาย

แม่กลาง(เด่นแงะ) และไปตามแนวสันเขา ถึงหลักเขตที่ ๒๔ ซึ่งตั้งอยู่ตรงบริเวณซึ่งตั้งอยู่ตรงสันเขาดอยย่าเพี้ยน

บริเวณพิกัด MA ๖๒๕๓๗๒ ระยะทางประมาณ ๑,๕๙๖ เมตร

จากหลักเขตที่ ๒๔ เป็นเส้นเลียบไปทางทิศตะวันตก เป็นเส้นเลียบตามแนวสันเขาดอยย่าเพี้ยน

ซึ่งเป็นเส้นแบ่งเขตระหว่างเทศบาลตำบลดอยแก้ว อำเภอจอมทอง กับเทศบาลตำบลบ้านหลวง ถึงหลักเขตที่ ๒๕

ซึ่งตั้งอยู่ตรงสันเขา บริเวณพิกัด MA ๖๐๕๓๗๑ ระยะทางประมาณ ๑,๙๙๖ เมตร

จากหลักเขตที่ ๒๕ เป็นเส้นเลียบไปทางทิศตะวันตก เป็นเส้นเลียบตามแนวสันเขา ถึงหลักเขตที่ ๒๖

ซึ่งตั้งอยู่ตรงดอยห้วยตาด บริเวณพิกัด MA ๕๘๑๓๖๔ ระยะทางประมาณ ๒,๔๐๘ เมตร

จากหลักเขตที่ ๒๖ เป็นเส้นเลียบไปทางทิศตะวันตก เป็นเส้นเลียบตามแนวสันเขา ถึงหลักเขตที่ ๒๗

ซึ่งตั้งอยู่ตรงสันเขาดอยมอลิคุ บริเวณพิกัด MA ๕๑๖๓๕๔ ระยะทางประมาณ ๖,๖๑๗ เมตร

จากหลักเขตที่ ๒๗ เป็นเส้นเลียบไปทางทิศตะวันตก เป็นเส้นเลียบตามแนวสันเขา ถึงหลักเขตที่ ๒๘

ซึ่งตั้งอยู่ตรงสันเขาบ้านขุนยะ บริเวณพิกัด MA ๔๘๒๓๔๕ ระยะทางประมาณ ๓,๘๑๕ เมตร รวมระยะ

ทางด้านทิศใต้ประมาณ ๑๗,๙๔๖ เมตร

ด้านตะวันตก

จากหลักเขตที่ ๒๘ เป็นเส้นเลียบตามแนวสันเขา ซึ่งเป็นเส้นแบ่งเขตระหว่างตำบลกองแขก ตำบล

ท่าผา และตำบลช่างเคิ่ง อำเภอแม่แจ่ม กับตำบลบ้านหลวง อำเภอจอมทอง โดยไปทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือตาม

สันเขาดอยผ้าขาว ถึงหลักเขตที่ ๒๙ บริเวณพิกัด MA ๔๖๓๓๖๔ ระยะทางประมาณ ๒,๘๓๕ เมตร

จากหลักเขตที่ ๒๙ เป็นเส้นเลียบตามแนวสันเขา ซึ่งเป็นเส้นแบ่งเขตระหว่างตำบลกองแขก

อำเภอแม่แจ่ม กับตำบลบ้านหลวง โดยไปทางทิศเหนือตามแนวสันดอย ถึงหลักเขตที่ ๓๐ ซึ่งตั้งอยู่ตรง

ดอยผ้าขาว บริเวณพิกัด MA ๔๕๗๓๙๑ ระยะทางประมาณ ๒,๙๘๘ เมตร

จากหลักเขตที่ ๓๐ เป็นเส้นเลียบตามแนวสันเขา โดยไปทางทิศเหนือตามแนวสันดอยหัวเสือ

และเนิน ๑๗๘๒ ถึงหลักเขตที่ ๓๑ ซึ่งตั้งอยู่ตรงยอดดอย ๑๙๕๐ บริเวณพิกัด MA ๔๕๘๔๒๒ ระยะทางประมาณ ๓,๔๗๔ เมตร

จากหลักเขตที่ ๓๑ เป็นเส้นเลียบตามแนวสันเขา ซึ่งเป็นเส้นแบ่งเขตระหว่างตำบลท่าผา อำเภอ

แม่แจ่ม กับตำบลบ้านหลวง โดยไปทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือเป็นเส้นเลียบไปตามสันเขา ผ่านบริเวณพิกัด

MA ๔๗๙๔๖๐ บริเวณดอยผาขาว ต่อไปทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือ เลียบตามสันเขาดอยหัวเสือ ผ่านบริเวณพิกัดที่ MA ๔๘๑๔๘๒ บริเวณสันเขาเนิน ๑๘๐๗ ต่อไปทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือเป็นเส้นเลียบไปตามขอบถนนสายจอมทอง-อินทนนท์ ฟากตะวันตก ผ่านบริเวณพิกัดที่ MA ๔๗๕๔๘๒ ไปทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือเลียบตามแนวสันเขาดอย ๑๘๐๗ และตามขอบถนนสายจอมทอง-อินทนนท์ ฟากตะวันตก ถึงหลักเขตที่ ๓๒

ซึ่งตั้งอยู่ตรงเนินเขาสามแยกถนนสายจอมทอง-อินทนนท์ เชื่อมกับถนนแม่แจ่ม-อินทนนท์ บริเวณพิกัด

MA ๔๖๖๔๙๕ ระยะทางประมาณ ๑๒,๑๐๕ เมตร

จากหลักเขตที่ ๓๒ เป็นเส้นเลียบตามแนวสันเขา ซึ่งเป็นเส้นแบ่งเขตระหว่างตำบลช่างเคิ่ง อำเภอ

แม่แจ่ม กับตำบลบ้านหลวง โดยไปทางทิศเหนือเลียบสันดอยไปตามขอบถนน บรรจบหลักเขตที่ ๑ ซึ่งตั้งอยู่ตรง

ยอดเขาดอยอินทนนท์ บริเวณพิกัด MA ๔๖๒๕๕๕ ระยะทางประมาณ ๗,๑๗๖ เมตร รวมระยะทางด้านทิศ

ตะวันตกประมาณ ๒๘,๕๗๘ เมตร



สภาพภูมิประเทศ
เทศบาลตำบลบ้านหลวงมีที่ราบสำหรับการเพาะปลูกน้อย ส่วนใหญ่จะเป็นภูเขาสูงพื้นที่อยู่ในเขตอุทยานแห่งชาติดอยอินทนนท์  เป็นแหล่งต้นน้ำที่สำคัญ มีน้ำตกที่สวยงามอยู่หลายแห่ง ซึ่งเป็นสถานที่ท่องเที่ยวที่สำคัญของอำเภอจอมทอง
-  พื้นที่ราบ      หมู่ที่ 1,2,3,4,13
-  พื้นที่เชิงเขา   หมู่ที่  10,11,12,14,16,20,21
-  พื้นที่ตั้งบนเขา ( เขตอุทยานแห่งชาติดอยอินทนนท์ )  หมู่ที่ 5,6,7,8,9,15,17,18,19,22,23

ด้านโทรคมนาคมและการสื่อสาร

สถานีโทรคมนาคม  ๒ แห่ง สถานีเรดาร์ดอยอินทนนท์ ,สถานีทวนสัญญาณโทรศัพท์ที่ หมู่ ๗

ข้อมูลพื้นฐานด้านโครงสร้างพื้นฐาน
ถนน เทศบาลตำบลบ้านหลวงมีทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๑๐๘ เป็นเส้นทางสู่จังหวัดเชียงใหม่ โดยเชื่อมกับทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๑๐๐๙ ติดต่อกับอำเภอแม่แจ่มเป็นเส้นทางสู่    ดอยอินทนนท์ ถนนภายในหมู่บ้าน จะเป็นถนนลูกรังเป็นส่วนใหญ่ ประกอบกับหมู่บ้านอยู่ในภูเขาจึงเป็นถนนที่คดเคี้ยว ขรุขระมากในบางหมู่บ้าน จะไม่มีทางรถยนต์เข้าสู่หมู่บ้านการติดต่อระหว่างหมู่บ้าน     จะมีความลำบากโดยเฉพาะในฤดูฝน
-       ถนนในความรับผิดชอบของกรมทางหลวง     จำนวน    ๒       สาย
สภาพ ถนน  เป็นถนนลาดยาง  จำนวน  ๒  สาย  ระยะทาง   ๕๗  กิโลเมตร
-       ถนนในความรับผิดชอบของกรมทางหลวงชนบท  จำนวน  ๖   สาย
สภาพถนน  เป็นถนนลาดยาง  จำนวน  ๑  สาย  ระยะทาง   ๒   กิโลเมตร
เป็นถนนลูกรัง     จำนวน  ๕  สาย  ระยะทาง   ๕๒  กิโลเมตร
-       ถนนในความรับผิดชอบของเทศบาล   จำนวน   ๔๓   สาย
สภาพ ถนน  เป็นถนนคอนกรีต  จำนวน  ๓๑  สาย  ระยะทาง   ๗๑   กิโลเมตร
สภาพ ถนน  เป็นถนนลูกรัง จำนวน  ๑๒   สาย  ระยะทาง   ๔๗   กิโลเมตร
ประปา
มีหมู่บ้านที่มีระบบประปาหมู่บ้าน  จำนวน  ๗   แห่ง   ประกอบด้วย
๑. หมู่ที่ ๑๐ บ้านแม่หอย
๒. หมู่ที่ ๑๑ บ้านเมืองกลาง
๓. หมู่ที่ ๑๓  บ้านน้ำลัด
๔. หมู่ที่ ๑๔  บ้านปะ  (ประปาของกรมอนามัย)
๕. หมู่ที่ ๑๖  บ้านตาดมื่น  (ประปาขนาดเล็กของกรมอนามัย)
๖. หมู่ที่ ๒๐  บ้านน้ำตกแม่กลาง
๗. หมู่ที่ ๒๑  บ้านกู่ฮ่อสามัคคี
ระบบประปาภูเขา
๑.  หมู่ที่ ๕  บ้านขุนยะ
๑.๑  บ้านห้วยปูลิง
๑.๒  บ้านห้วยฮากเกี๊ยะ
๑.๓  บ้านตีนตก
๒.  หมู่ที่ ๖  บ้านป่าแขม
๒.๑  บ้านป่าแขม
๒.๒  บ้านสบแอบ
๒.๓  บ้านใหม่
๒.๔  บ้านตีนผา
๒.๕  บ้านสบแอบใน
๓.  หมู่ที่ ๗  บ้านขุนกลาง



แชร์หน้านี้: