ยินดีต้อนรับเข้าสู่เว็บไซต์ใหม่ของเทศบาลตำบลบ้านหลวง                               วิสัยทัศน์การพัฒนา (Vision) "กินอิ่ม นอนอุ่น ชุมฉ่ำน้ำท่า ท่องเที่ยวพัฒนา ผืนป่าเขียวขจี เศรษฐกิจดีแบบพอเพียง"
 ข้อมูลเทศบาล

นายก่อชิ เพชรไพรพนาวัลย์

นายกเทศมนตรีตำบลบ้านหลวง
โทร. 096-6535535

msgถาม-ตอบ สายตรงนายก

นายอภิสิทธิ์ ยลละออ - ปลัดเทศบาลตำบลบ้านหลวง <br> โทร. 095-6986957

นายอภิสิทธิ์ ยลละออ

ปลัดเทศบาลตำบลบ้านหลวง
โทร. 095-6986957


hornข่าวกิจกรรม

"พิธีสาปแช่ง คนเผาป่า" ผสานภูมิปัญญาและองค์ความรู้การจัดการไฟป่า หมอกควัน และการรับมือการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ

  • 22 กุมภาพันธ์ 2567
  • อ่าน 17 ครั้ง

วันที่ 22 กุมภาพันธ์ 2567
????นายก่อชิ เพชรไพรพนาวัลย์(นายกเทศมนตรีตำบลบ้านหลวง) ร่วมพิธีสาปแช่ง คนเผาป่า พร้อมร่วมอภิปรายแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ในหัวข้อ"คนอยู่ได้ ป่าอยู่ได้" ณ ศูนย์เรียนรู้การจัดการอย่างมีส่วนร่วมอินทนนท์ อำเภอจอมทอง จังหวัดเชียงใหม่ โดยมีนายชัชวาลย์ ทองดีเลิศ ประธานสภาลมหายใจ จังหวัดเชียงใหม่ เป็นประธานเปิดกิจกรรม "พิธีสาปแช่ง คนเผาป่า" ผสานภูมิปัญญาและองค์ความรู้ การจัดการไฟป่า และการรับมือการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ เพื่อบูรณาการทุกภาคส่วนร่วมกันเป็นการแก้ไขปัญหาไฟป่าหมอกควันอย่างเป็นรูปธรรมใน 3 พื้นที่ คือ ป่า เมือง เกษตร บนหลักการสื่อสารเชิงรุก ยกระดับการปฏิบัติการ ปรับรูปแบบการทำงานให้เข้าถึงง่าย เน้นการมีส่วนร่วมทุกภาคส่วน โดยเฉพาะภาคประชาชน ให้สอดคล้องกับบริบทของพื้นที่
โดยมีเจ้าหน้าที่ฝ่ายปกครองอำเภอจอมทอง/ เจ้าหน้าที่อุทยานแห่งชาติดอยอินทนนท์/ สถานีควบคุมไฟป่าดอยอินทนนท์ /เครือข่ายอาสาสมัครฝ้าระวังไฟป่า/ องค์กรภาคีเครือข่าย /ตลอดจนประชาชนในพื้นที่เข้าร่วมกิจกรรมในครั้งนี้
หลังเปิดพิธีสาปเเช่ง คนเผาป่าเสร็จ พี่น้องกลุ่มชาติพันธุ์ม้งและปกาเกอะญอได้ทำพิธีสาปแช่งคนเผาป่า อันเป็นอัตลักษณ์ที่สืบทอดกันมา ซึ่งในส่วนของกลุ่มชาติพันธุ์ปกาเกอะญอได้นำของเส้นไหว้ อาทิ ไก่คู่นึ่ง ข้าวปากหม้อ และสุราขาว มาเลี้ยงเจ้าที่ เจ้าป่า เจ้าเขา ที่ปกปักรักษาป่าต้นน้ำแห่งนี้ เพื่อขอขมาเเละขอพรให้ผืนป่าปลอดภัย ไม่เกิดไฟป่า เเละหากมีคนที่เข้าไปช่วยดับไฟป่า ก็ขอให้แคล้วคลาดปลอดภัย ส่วนผู้ที่ลักลอบเผาป่าก็จะเจอแต่สิ่งอัปมงคล ซึ่งเป็นกุศโลบายให้เกิดความเกรงกลัว โดยนำเอาความเชื่อของทั้งสองชนเผ่าที่นับถือเชื่อในสิ่งศักดิ์สิทธิ์คอยปกป้องรักษาป่ามาสร้างจิตสำนึกที่ดี ต่อการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ นับเป็นตัวอย่างพื้นที่ที่มีความเข้มแข็งและน่าชื่นชม ในการเข้ามามีส่วนร่วมแก้ไขปัญหาไฟป่า ลดหมอกควัน และการเตรียมความพร้อมชุมชน ตั้งรับปรับตัวกับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ



แชร์หน้านี้: